วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่ม 102 (วันที่ 30 เมษายน 2558)


คาบนี้เป็นคาบสุดท้ายของการเรียน แต่หนูไม่ได้มาเรียน!!!!!!!

ความประทับใจที่มีต่ออาจารย์........

          อาจารย์เบียร์เป็นอาจารย์ที่น่ารัก คอยให้คำปรึกษากับหนูตลอดไม่ว่าจะเรื่องเรียนหรือ

เรื่องส่วนตัว ขอขอบคุณอาจารย์เบียร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมาตลอด หนูได้ความรู้เกี่ยว

กับการดูแลเด็กพิเศษ เกี่ยวกับการเขียนแผนเยอะมาก(แต่ไม่รู้จะทำถูกรึเปล่าว) 55

                                                                                                               รักอาจารย์เบียร์ค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ    แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่มมเรียน 102(วันที่ 22 เมษายน 2558)



ความรู้ที่ได้รับ เรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น

- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและ

ความสามารถของเขา

- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผนIEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ

- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด

- เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน

- เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น

- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน

- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน

- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

- เป็นแนวทางการจัดเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก

- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อสารการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผูู้ปกครอง

- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตาม

ศักยภาพ

- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร

- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับ

โรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1.การเก็บรวบรวม

- รายงานทางการเเพทย์(บอกผลเข้าออกโรงพยาบาล)

- รายงานการประเมินด้านต่างๆ

- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(บันทึกพฤติกรรมเด็กและนำมาเขียนแผนIEP)

2.การจัดทำแผน

-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง(ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง)

- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะยาวและระยะสั้น

- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม

- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย

- ระยะยาว(กำหนดให้กว้างๆเข้าไหวแต่ชัดเจน)

- ระยะสั้น(ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดประสงค์หลัก)

จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง

- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้

- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น

- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก

- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์

จุดมุ่งหมายระยะสั้นต้องมี 4 หัวข้อในการเขียน

- จะสอนใคร

- พฤติกรรมอะไร

- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)

- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3.การใช้แผน

- เมื่อเสร็จแผนสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น

- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง

1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ

2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก

3. อิธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น

- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกรณฑ์การวัดผล

*การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

การจัดทำIEP

1. การรวบรวมข้อมูล

2. การจัดทำแผน

3. การใช้แผน

4. การประเมิน





บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ     แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่มเรียน 102(วันที่ 8 เมษายน 2558)



ความรู้ที่ได้รับ  เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้

- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง

- เด็กรู้สึกว่าฉันทำได้

- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

- อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ

- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อย่างอื่น

- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่

- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่

- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลือนไหว

- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น

- ตอบสนองอย่างเหมาะสม

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่

- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มา

ความจำ

- จากการสนทนา

- เมื่อเช้าหนูทานอะไร

- แกงจืดที่เรากินอะไรใส่อะไรบ้าง

- จำตัวละครในนิทาน

- จำชื่อ ครูเพื่อน

-  เล่นเกมทายของที่หายไป

การควบคุมกล้ามเนื้อเล่น

- การกรองน้ำ ตรวงน้ำ

- ต่อบล็อก

- ศิลปะ

- มุมบ้าน

- ช่วยเหลือตนเอง

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

- สำรวจ

- สังเกต

- จำแนกเปรียบเทียบ

- มิติสัมพันธ์

- อนุกรม

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- จัดกลุ่มเด็ก

- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ

- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย

- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน

- มีอุปกรณ์ไว้สัปเปลี่ยนใกล้มือ

- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

- พูดในทางที่ดี

- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลือนไหว

- ทำบทเรียนให้สนุก


กิจกรรมก่อนเรียน เฉลยข้อสอบ

กิจกรรมหลังเรียน  ร้องเพลง

เพลงที่1. เพลงนกกระจิบ

เพลงที่2. เพลงเที่ยวท้องนา

เพลงที่3. เพลงแม่ไก่ออกไข่

เพลงที่4. เพลงลูกแมวสิบตัว

เพลงที่5. เพลงลุงมาชาวนา




บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่มเรียน 102 (วันที่ 18 มีนาคม 2558)


ความรู้ที่ได้รับ.... เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การสร้างความอิสละ

- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

- อยากทำงานตามความสามารถ

- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

- การได้ทำด้วยตนเอง

- เชื่อมั่นในตนเอง

- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)

- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

จะช่วยเมื่อไหร่

- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด  เบื่อ ไม่ค่อยสบาย

- หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เด็กเรียนรู้ไปแล้ว

- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ เเต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ

- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

- แบ่งลำดับขั้นช่วยเหลือตนเองเป็นขั้นย่อยๆ

- เรียงลำดับตามขั้นตอน

- วางแผนทีละขั้น


กิจกรรมที่ทำในคาบ  กิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจ












ผลการจัดกิจกรรม 

- เด็กได้สมาธิ

- เด็กได้ทักษะทางสังคม

- เด็กผ่อนคลายอารมณ์

- เด็กรู้จักคิดเเละวางแผน

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

เวลาเรียน  09.00-12.20 น.  กลุ่ม 102 (วันที่ 11  มีนาคม 2558)



ความรู้ที่ได้รับ เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา

- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม

- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม

- ถามหาสิ่งต่างๆไหม

- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม

- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม


การออกเสียงผิด/พุดไม่ชัด(น้องดาาว์ ,ซีพี ,เด็กบกพร่องทางภาษา)

- การพูดตกหล่น

- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง

- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือ การออกเสียงไม่ชัด

- ห้ามบอกเด็กว่าพูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด

- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด

- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก

- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา

- ทักษะการรับรู้ภาษา

- การแสดงออกทางภาษา

- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

#ปกติเด็กทั่วไปจะมี ทักษะทางภาษา 4 อย่าง คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่เด็กพิเศษมี 3 ทักษะแค่นี้ก็พอ#


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา

- ให้เวลาเด็กได้พูด

- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)

- ใช้คำถามปลายเปิด

- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น

กิจกรรมก่อนเรียน

                    วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ   การอ่านข้อสอบบรรจุ อาจารย์แนะนำให้ไปอ่าน

หนังสือตั้งแต่เนินๆ

ภาค ก (ไม่ค่อยยาก)

-พรบ การศึกษา(ภาพรวม)

- ความรู้รอบตัวทั่วไป

- 9 มาตราฐานวิชาชีพครู

ภาค ข (ยากมาก)

- วิชาเอกของเรา

กิจกรรมหลังเรียน

วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลงแล้วรากเส้นไปตามเสียงเพลง เสร็จแล้วให้ระบายสีที่เป็นกรอบ














สรุปผลการทำกิจกรรม

- เด็กได้สมาธิ

- เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน

- เด็กได้ผ่อนคลาย

- ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น.  กลุ่มเรียน 102  (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558)


ความรู้ที่ได้รับ  เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม

- เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่

- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น(ส่งเสริมทักษะทางสังคมได้ดีมาก)

- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม

- เด็กจะสนใจกันเองโดยผ่านการเล่นเป็นสื่อ

- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน

- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใด

- ครูจดบันทึก

- ทำแผน IEP

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

- อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ

- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู

- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป

- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น(เพราะเด็กทำเสร็จไวเกินไป)

- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน

- ทำโดยการพูดนำของครู

กิจกรรมที่ทำในคาบเรียน... กิจกรรมศิลปบำบัด

          ครูให้เด็กจับคู่กันแต่ละคู่จะมีสี 2 แท่งที่ตนเองชอบ จากนั้นครูจะเปิดเพลงที่บำบัดเด็ก ให้เด็กๆฟัง

อย่างผ่อนคลาย แล้วให้เด็กๆขีดเขียนไปตามจินตนาการของตนเอง แต่มีข้อแม้ห้ามยกมือ


หลังจากลากเส้นเรียบร้อยก็จุดตรงที่เป็นวงกลม




จากนั้นครูก็ให้เด็กๆสังเกต ว่าภาพที่ทำสามารถเป็นสัตว์อะไรได้บ้าง


สรุปผลการทำกิจกรรม

- เด็กได้สมาธิ

- เด็กผ่อนคลาย สนุกสนาน

- ได้ได้รู้จักใช้ความคิดและจินตนาการ

ป.ล อาจารย์ให้ชีสเพลงไปฝึกร้อง

เพลงที่1. เพลงดวงอาทิตย์

เพลงที่2.  เพลงดวงจันทร์

เพลงที่3.  เพลงดอกมะลิ

เพลงที่4.  เพลงกุหลาบ

เพลงที่5.  เพลงนกเขาขัน

เพลงที่6.  เพลงรำวงดอกมะลิ

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่ม 102 (วันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2558)



ความรู้ที่ได้รับเรื่อง  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


การฝึกเพิ่มเติม

- การอบรมระยะสั้น,สัมมนา

- สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง

- ครูต้องเรียนรู้,มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ

- รู้จักเด็กแต่ละคน

- มองเด็กให้เป็นเด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก

- วุฒิภาวะ

- แรงจูงใจ

- โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ

- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม

- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น

- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก

- ครูต้องมีความสนใจเด็ก

- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก

- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้

อุปกรณ์

- มีลักษณะง่ายๆ

- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเรียนแบบเด็กปกติ

- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น

- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

- ยอมรับขอบเขตและความสามารถของเด็ก

- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ

- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้

- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้เเรงเสริม

- แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่

- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กสำคัญมาก

- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมดีๆนั้น ก็จะลดลงและหายไป

- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่

- ตอบสนองด้วยวาจาน่ารัก น่าฟัง

- การยืนหรือนั้งใกล้เด็ก

- สำผัสทางกาย กอดเด็ก หรือ ลูบหัวเด็ก

- ให้ความช่วยเหลือ,ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการเสริมแรงในเด็กปฐมวัย

- ครูต้องเสริมแรงทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์

- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท (prompting)

- ย่อยงาน

- ลำดับความยากง่ายของงาน

- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ

- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงไปตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม

- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย

- สอนจากง่ายไปยาก

- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้

- ไม่ดุหรือตี

- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป

การลดหรือหยุดแรงเสริม

- ครูจะลดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก

- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก

- เอาเด็กออกจากการเล่น

กิจกรรมในห้อง......

          วันนี้อาจารย์แจกถุงมือคนละข้าง ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ตนเองถนัด จากนั้นก็ให้วาดมือที่เรา

ใส่ถุงมือให้เหมือนกับของจริงให้ได้มากที่สุด





สรุปผลจากการทำกิจกรรม

                   เด็กก็เปรียบเสมือนมือที่เราใส่ถุงมือ  เวลาเรามองเด็กหรือจดบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็กเราควร

จดตามความเป็นจริง อย่าแต่งเติมให้เด็กหรือใส่ความรู้สึกนึกคิดของเราลงไป





วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลาเรียน  09.00-12.20 น.   กลุ่ม 102  (วันที่ 28 มกราคม 2558)


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เราเรียนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิฉัย 

-ครูไม่มีสิทธิฟันธงว่าน้องมีอาการผิดปกติ หน้าที่ในการวินิฉัยโรคเราควรให้แพทย์วินิฉัย

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุบประเภทเด็ก

-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป 100 ทั้ง 100 เด็กไม่ชอบให้ตั้งฉายา

-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่ามีบางอย่างผิดปกติ

-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการ

-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-ไม่มีใครสามารถสังเกตเด็กอย่างมีระบบได้เท่าครู

ลักษณะการสังเกต

-เป็นช่วงกิจกรรม

-กิจกรรมเสรี

-กิจกรรมเล่นตามมุม

การตรวจสอบ

-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้พ่อแม่และครูเข้าใจเด็กดีขึ้น

-บอกได้ว่าเรื่องไหนที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

-ประเมิณให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้

-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต

-การนับอย่างง่ายๆ  นับเลข  นับของ

-การบันทึกต่อเนื่อง

-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ (นับแต่พฤติกรรมที่ไม่ดี กรีดร้อง ทุบโต๊ะ)

-นับจำนวนครั้งของกาเกิดพฤติกรรม

-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง

-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง(ดีที่สุดเพราะเห็นภาพรวมมากที่สุด)

-ให้รายละเอียดได้มาก

-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง  หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง

-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง(สามารถให้ครูพี่เลี้ยงช่วยทำได้)

-บันทึกลงบัตรเล็กๆ

-เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กทุกคนในช่วงเวลาหนึ่ง

ประเมิณ

ตัวเอง:มีความตั้งใจเรียนดี สนใจที่อาจารย์บอก  แต่เข้าห้องเรียนสาย(ควรปรับปรุง)

เพื่อน:เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม สนใจที่อาจารย์สอน

อาจารย์:ก่อนเรียนอาจารย์มักจะพูดคุยกับนักศึกศษาก่อนเสมอเพื่อปรับบรรยากาศภายในห้อง ให้ดูไม่

ตรึงเครียดเกินไป อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สีหวานสดใส55


วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลา 09.00-12.20 น.    กลุ่มเรียน 102  (วันที่ 21 มกราคม 2558)




ความรู้ที่ได้รับ

     รูปแบบการจัดการศึกษาแบ่งได้เป็น  4 ประเภท

1. การศึกษาปกติ

2. การศึกษาพิเศษ

3. การศึกษาแบบเรียนร่วม

4. การศึกษาแบบเรียนรวม  มี 2แบบ

4.1 การเรียนร่วมบางเวลา(lntegration)

- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา

- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

4.2 การเรียนรวมเต็มเวลา(Mainstreaming)

- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน

- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ

- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ

- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมาวัย

- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้

- สอนได้

- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

ประเมิณ

ตนเอง: มีความสนใจเรียนดี จดเล็กเชอร์ที่อาจารย์บอกและจดเนื้อหาที่อาจารย์เพิ่มเติมให้

เพื่อน: เพื่อนมีความสนใจเรียนดี  แต่งตัวเรียบร้อย

อาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย 



บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทินครั้งที่1

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลา 09.00-12.20 น.  กลุ่มเรียน 102    (วันที่ 14  มกราคม 2558)


ความรู้ที่ได้รับ


      วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เข้าเจออาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ที่อาจารย์ได้ไป

บุรีรัมย์ให้ฟัง ว่าสนุกและทรหดมากขนาดไหน  และได้เฉลยข้อสอบวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็ก

ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้บอกเทคนิคเล็กๆน้อยๆให้เราฟังว่า ถ้าเราร้องเพลง

ให้เด็กพิเศษฟังทุกวันเขาจะจดจำสิ่งต่างๆนั้นแล้วจะเข้าใจได้ทันที่ว่าเรากำลังต้องการให้เขาทำ

อะไร เช่นร้องเพลงแปรงฟัน เด็กพิเศษก็จะรู้ว่าต้องแปรงฟัน


ประเมิณ

ตัวเอง: ตั้งใจเรียนดี สนุกและจดจำสิ่งที่อาจารย์เน้นย้ำได้ สนใจเรียน แต่งการเรียบร้อย

เพื่อน: เพื่อนส่วนใหญ่สนใจเรียนดี แต่มีบางคนอาจจะคุยเยอะไปหน่อยแต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์

พูดกันทุกคน และจดสิ่งที่อาจารย์ย้ำไว้บ่อยๆ

อาจารย์: มีบุคลิกดี แต่งการสุภาพเรียบร้อย ให้เทคนิคเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกับนักศึกษา