วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทินครั้งที่3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลาเรียน  09.00-12.20 น.   กลุ่ม 102  (วันที่ 28 มกราคม 2558)


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เราเรียนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิฉัย 

-ครูไม่มีสิทธิฟันธงว่าน้องมีอาการผิดปกติ หน้าที่ในการวินิฉัยโรคเราควรให้แพทย์วินิฉัย

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุบประเภทเด็ก

-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป 100 ทั้ง 100 เด็กไม่ชอบให้ตั้งฉายา

-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่ามีบางอย่างผิดปกติ

-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้

-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง

-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการ

-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

-ไม่มีใครสามารถสังเกตเด็กอย่างมีระบบได้เท่าครู

ลักษณะการสังเกต

-เป็นช่วงกิจกรรม

-กิจกรรมเสรี

-กิจกรรมเล่นตามมุม

การตรวจสอบ

-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้พ่อแม่และครูเข้าใจเด็กดีขึ้น

-บอกได้ว่าเรื่องไหนที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

-ประเมิณให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้

-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต

-การนับอย่างง่ายๆ  นับเลข  นับของ

-การบันทึกต่อเนื่อง

-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ (นับแต่พฤติกรรมที่ไม่ดี กรีดร้อง ทุบโต๊ะ)

-นับจำนวนครั้งของกาเกิดพฤติกรรม

-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง

-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง(ดีที่สุดเพราะเห็นภาพรวมมากที่สุด)

-ให้รายละเอียดได้มาก

-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง  หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง

-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง(สามารถให้ครูพี่เลี้ยงช่วยทำได้)

-บันทึกลงบัตรเล็กๆ

-เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กทุกคนในช่วงเวลาหนึ่ง

ประเมิณ

ตัวเอง:มีความตั้งใจเรียนดี สนใจที่อาจารย์บอก  แต่เข้าห้องเรียนสาย(ควรปรับปรุง)

เพื่อน:เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม สนใจที่อาจารย์สอน

อาจารย์:ก่อนเรียนอาจารย์มักจะพูดคุยกับนักศึกศษาก่อนเสมอเพื่อปรับบรรยากาศภายในห้อง ให้ดูไม่

ตรึงเครียดเกินไป อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สีหวานสดใส55


วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทินครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลา 09.00-12.20 น.    กลุ่มเรียน 102  (วันที่ 21 มกราคม 2558)




ความรู้ที่ได้รับ

     รูปแบบการจัดการศึกษาแบ่งได้เป็น  4 ประเภท

1. การศึกษาปกติ

2. การศึกษาพิเศษ

3. การศึกษาแบบเรียนร่วม

4. การศึกษาแบบเรียนรวม  มี 2แบบ

4.1 การเรียนร่วมบางเวลา(lntegration)

- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา

- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ

- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

4.2 การเรียนรวมเต็มเวลา(Mainstreaming)

- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน

- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ

- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ

- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมาวัย

- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้

- สอนได้

- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

ประเมิณ

ตนเอง: มีความสนใจเรียนดี จดเล็กเชอร์ที่อาจารย์บอกและจดเนื้อหาที่อาจารย์เพิ่มเติมให้

เพื่อน: เพื่อนมีความสนใจเรียนดี  แต่งตัวเรียบร้อย

อาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย 



บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทินครั้งที่1

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

เวลา 09.00-12.20 น.  กลุ่มเรียน 102    (วันที่ 14  มกราคม 2558)


ความรู้ที่ได้รับ


      วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เข้าเจออาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ที่อาจารย์ได้ไป

บุรีรัมย์ให้ฟัง ว่าสนุกและทรหดมากขนาดไหน  และได้เฉลยข้อสอบวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็ก

ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้บอกเทคนิคเล็กๆน้อยๆให้เราฟังว่า ถ้าเราร้องเพลง

ให้เด็กพิเศษฟังทุกวันเขาจะจดจำสิ่งต่างๆนั้นแล้วจะเข้าใจได้ทันที่ว่าเรากำลังต้องการให้เขาทำ

อะไร เช่นร้องเพลงแปรงฟัน เด็กพิเศษก็จะรู้ว่าต้องแปรงฟัน


ประเมิณ

ตัวเอง: ตั้งใจเรียนดี สนุกและจดจำสิ่งที่อาจารย์เน้นย้ำได้ สนใจเรียน แต่งการเรียบร้อย

เพื่อน: เพื่อนส่วนใหญ่สนใจเรียนดี แต่มีบางคนอาจจะคุยเยอะไปหน่อยแต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์

พูดกันทุกคน และจดสิ่งที่อาจารย์ย้ำไว้บ่อยๆ

อาจารย์: มีบุคลิกดี แต่งการสุภาพเรียบร้อย ให้เทคนิคเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกับนักศึกษา