บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 09.00-12.20 น. กลุ่ม 102 (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558)
ความรู้ที่ได้รับเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
การฝึกเพิ่มเติม
- การอบรมระยะสั้น,สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้,มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเรียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตและความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้เเรงเสริม
- แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กสำคัญมาก
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมดีๆนั้น ก็จะลดลงและหายไป
- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจาน่ารัก น่าฟัง
- การยืนหรือนั้งใกล้เด็ก
- สำผัสทางกาย กอดเด็ก หรือ ลูบหัวเด็ก
- ให้ความช่วยเหลือ,ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการเสริมแรงในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องเสริมแรงทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงไปตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
- ไม่ดุหรือตี
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะลดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
กิจกรรมในห้อง......
วันนี้อาจารย์แจกถุงมือคนละข้าง ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ตนเองถนัด จากนั้นก็ให้วาดมือที่เรา
ใส่ถุงมือให้เหมือนกับของจริงให้ได้มากที่สุด
สรุปผลจากการทำกิจกรรม
เด็กก็เปรียบเสมือนมือที่เราใส่ถุงมือ เวลาเรามองเด็กหรือจดบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็กเราควร
จดตามความเป็นจริง อย่าแต่งเติมให้เด็กหรือใส่ความรู้สึกนึกคิดของเราลงไป